จากกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดินให้ตรวจสอบกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจมีการจัดทำบันทึกการจับกุม น.ส.ปรียานุช โนนวังชัย หรือเปรี้ยว กับพวก ผู้ต้องหาในคดีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและอำพรางศพ ทั้งที่ภาพวันที่รับตัวผู้ต้องหามีเจ้าหน้าที่เพียงสิบกว่าคนเท่านั้น จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ทั้ง 99 รายชื่อเป็นผู้ร่วมการจับกุมจริงหรือไม่ และการมีชื่อในการบันทึกการจับกุม หากไม่ได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่จริง ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อหวังผลประโยชน์ในตำแหน่งหน้าที่ทางราชการหรือไม่

ล่าสุดนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการจัดทำบันทึกการจับกุม นางสาวปรียานุช โนนวังชัย หรือ เปรี้ยว กับพวก ผู้ต้องหาในคดีฆ่าหั่นศพ น้องแอ๋ม ว่า ขณะนี้ทางผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีมติตั้งคณะทำงานพิจารณาในกรณีดังกล่าวแล้ว เนื่องจากเห็นว่าเป็นประเด็นที่สาธารณชนให้ความสนใจจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบรวดเร็ว โดยจะมีการตรวจสอบว่า มีตำรวจร่วมดำเนินการจับกุมผู้ต้องหาถึง 99 รายชื่อจริงหรือไม่ และหากไม่ได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่จริง จะถือว่าเป็นการกระทำเพื่อหวังผลประโยชน์ในตำแหน่งหน้าที่ทางราชการหรือไม่

“หลังจากนี้คณะทำงานจะประชุม เพื่อกำหนดประเด็นพิจารณา และดูว่าต้องให้บุคคลใดชี้แจงหรือไม่อย่างไร เพราะโดยปกติจะให้ยื่นคำชี้แจงกลับมาภายใน 30 วัน แต่ถ้าคณะทำงานเห็นว่าไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อนสามารถดำเนินการได้เร็วก็อาจกำหนดเวลาเร็วกว่านั้นได้ ทั้งนี้ในการพิจารณาของผู้ตรวจจะดูในเรื่องการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ว่ามีปัญหาเรื่องความถูกต้องตามที่มีการร้องมาหรือไม่ และในการทำงานของตำรวจจำเป็นต้องใช้คนมากขนาดนั้นหรือไม่ เนื่องจากจะมีผลในเรื่องของงบประมาณ และการให้ปากคำในศาล เพราะอาจมีการให้การขัดกันได้”
“หลังจากนี้คณะทำงานจะประชุม เพื่อกำหนดประเด็นพิจารณา และดูว่าต้องให้บุคคลใดชี้แจงหรือไม่อย่างไร เพราะโดยปกติจะให้ยื่นคำชี้แจงกลับมาภายใน 30 วัน แต่ถ้าคณะทำงานเห็นว่าไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อนสามารถดำเนินการได้เร็วก็อาจกำหนดเวลาเร็วกว่านั้นได้ ทั้งนี้ในการพิจารณาของผู้ตรวจจะดูในเรื่องการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ว่ามีปัญหาเรื่องความถูกต้องตามที่มีการร้องมาหรือไม่ และในการทำงานของตำรวจจำเป็นต้องใช้คนมากขนาดนั้นหรือไม่ เนื่องจากจะมีผลในเรื่องของงบประมาณ และการให้ปากคำในศาล เพราะอาจมีการให้การขัดกันได้”

“ผู้ที่ใช้อำนาจในการอนุมัติให้ใช้เครื่องบินตำรวจขนส่งผู้ต้องหาจากกรุงเทพฯไปเชียงราย จากเชียงรายไปกรุงเทพฯ กรุงเทพฯไปขอนแก่น และขอนแก่นไปกรุงเทพฯ จำนวน 4 เที่ยวบิน เที่ยวละ150,000 บาท โดยไม่มีความจำเป็นซึ่งขัดต่อกฎหมายนั้น นอกจากนี้ยังใช้เครื่องบินเพื่ออำนวยความสะดวกเพื่อให้พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าวในกรุงเทพฯ ทั้งที่เป็นพื้นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคดี ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลัง หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2552 หรือไม่ ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าเบี้ยเลี้ยงตำรวจในวันทำแผนอีกกว่า 3 กองร้อย ค่าสืบสวนติดตามและค่าพาหนะ โดยงบประมาณดังกล่าวเป็นเงินงบประมาณจากภาษีประชาชน ถือได้ว่าใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินไปในลักษณะที่ไม่คุ้มค่าและไม่มีประสิทธิภาพ” เลขาฯสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าว
ที่มา: Tnews