
ถือเป็น "12 ภาพเหตุการณ์ในอดีต" ที่สำคัญของเมืองไทย ที่คนรุ่นหลังอาจจะยังไม่เคยได้เห็น เพราะไม่ใช่ภาพที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่มากเท่าไรนัก โดยภาพเหล่านี้ถือเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่คนรุ่นก่อนจะรู้สึกอินกับมันเป็นอย่างดี แต่เด็กสมัยใหม่เห็นแล้วอาจจะตื่นตาตื่นใจ เพราะเราไม่ได้เห็นและอยู่ในช่วงเวลานั้น
บอกเลยว่าสมัยก่อนก็มีอะไรพีคๆกับเขาเหมือนกันไม่น้อย ซึ่งหลายสถานที่ที่เราได้ไปเที่ยวไปชม อาทิ สะพานพุทธ , สนามหลวง ในอดีตก็ล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวทั้งนั้น พูดแล้วอย่ารอช้าลองไปไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปหาอดีตพร้อมๆกันเลยดีกว่าจ้า
น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2485




การเฉลิมฉลองการเปิดสะพานพระราม 9 ในปี 2530 มีการจัดงานวิ่งลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอนนานาชาติของประเทศไทย ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างเข้าร่วมการแข่งขันแน่นขนัด จนเกิดการเข้าใจผิดในเรื่องของผู้ชนะ จนกลายเป็นข่าวที่ทุกคนให้ความสนใจ


ตลาดนัดสนามหลวง เคยเป็นย่านการค้าที่โด่งดังในสมัยอดีต มีเฉพาะแค่วันเสาร์-วันอาทิตย์ ขายของทุกอย่างคล้ายๆตลาดนัดจตุจักร แต่มีเสน่หมากกว่านั้น มีการขายของบนพื้นเรียกว่า "แบกกะดิน" พ่อค้าแม่ค้าหลายทั่วสารทิศทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัดมาขายของกันที่นั้นทั่วรอบสนามหลวง และบริเวณใกล้เคียง จนสินค้าบางชิ้นกลายเป็นของขึ้นชื่อ ก่อนจะย้ายที่ตลาดนัดจตุจักรในปี พ.ศ. 2525 เพราะมีการปรับปรุงสนามหลวงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจต้อนรับ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์


ช่วงเวลากำลังก่อสร้าง ตึกใบหยก

ตึกใบหยก 2 เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2508 โดยใช้ทำเลที่ตั้ง 222 ถนนราชปรารภ 3 ตำบลถนนพญาไท อำเภอพญาไท จังหวัดพระนคร โดยใช้การสร้างระยะเวลาเพียง 7 ปี
ช่วงเวลากำลังก่อสร้าง สยามดิสคัฟเวอร์รี่

ช่วงเวลากำลังก่อสร้างรถไฟฟ้า สายแรกในไทย

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain) เปิดบริการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2542
ห้าแยกลาดพร้าว สมัยก่อน

ห้าแยกลาดพร้าว หลายคนคงรู้จักกันดี เนื่องจากเป็นหนึ่งในแยกหลักของกรุงเทพ เป็นจุดตัดของถนนสายสำคัญ ได้แก่ ถ.วิภาวดีและถ.พหลโยธิน
งานฉลองวันรัฐธรรมนูญที่ สวนลุมพินี

ภาพการเปิดสะพานพุทธครั้งสุดท้าย เพื่อให้เรือหลวงแล่นผ่าน ก่อนซ่อมสะพานและไม่ให้เปิดอย่างถาวร

เนื่องจากอายุของสะพานที่เก่าแก่ และปัญหาด้านความแข็งแรง ท้ายที่สุดจึงต้องปิดถาวรนั่นเอง
ที่มา: เฟซบุ๊กเพจ ย้อนอดีต...วันวาน
- Advertisement -